ดาวศุกร์
(อังกฤษ: Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่
2 ชื่อละตินของดาวศุกร์ (Venus) มาจากเทพีแห่งความรักของโรมัน
ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน มีขนาดใกล้เคียงกับโลก บางครั้งเรียกว่า
"น้องสาว" ของโลก แม้ว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงจะเป็นวงรี
วงโคจรของดาวศุกร์จัดว่าเกือบเป็นวงกลม มีความเยื้องศูนย์กลาง (ความรี) น้อยที่สุด
สำหรับวัตถุในธรรมชาติ
ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าที่สว่างที่สุดเป็นลำดับที่ 3
รองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เนื่องจากดาวศุกร์มีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก
จึงมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47.8° มองเห็นได้เฉพาะในเวลาเช้ามืดหรือหัวค่ำเท่านั้น
ขณะปรากฏในท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า "ดาวประจำเมือง"
และเมื่อปรากฏในท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า
"ดาวประกายพรึก" หรือ "ดาวรุ่ง"
ชาวบาบิโลนโบราณรู้จักดาวศุกร์มาตั้งแต่ราว
1,600 ปีก่อนคริสตกาล แต่เชื่อว่าด้วยความสว่างสุกใสของดาวศุกร์
น่าจะเป็นที่รู้จักมาก่อนหน้านั้นนานแล้วนับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์
สัญลักษณ์แทนดาวศุกร์ คือ ♀
บรรยากาศ
บรรยากาศของดาวศุกร์
ประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 97% ไนโตรเจน 3.5% ซัลเฟอร์ไดออกไซด์และ อาร์กอน
0.5% มีชั้นเมฆคาร์บอนไดออกไซด์ที่หนาทึบมาก
ปกคลุมดาวศุกร์ทั้งดวงทำให้สะท้อนแสงอาทิตย์ได้ดี
จึงเห็นดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่สว่างสุกใสมาก และยานอวกาศที่ไปสำรวจดาวศุกร์ก็ไม่สามารถถ่ายภาพพื้นผิว
โดยตรงได้
ต้องอาศัยคลื่นเรดาห์ผ่านทะลุชั้นเมฆแล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์อีกครั้ง
อุณหภูมิของดาวศุกร์
ด้วยชั้นเมฆหนาของดาวศุกร์ทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจก อุณหภูมิบนดาวศุกร์สูงมาก
ประมาณ 500 องศาเซลเซียส ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน
การเคลื่อนที่
ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเอง
1 รอบใช้เวลานานกว่าการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ และถ้าเราอยู่บนดาวศุกร์เวลา
1 วัน จะไม่ยาวเท่ากับเวลาที่ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ
นี่คือลักษณะพิเศษที่ดาวศุกร์ไม่เหมือนดาวเคราะห์ดวงใดๆ นอกจากนี้ดาวศุกร์ยังหมุนตามเข็มนาฬิกาหรือหมุนจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก
ในขณะที่เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์จากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก
ดาวศุกร์จึงหมุนสวนทางกับดาวเคราะห์ดวงอื่น
และหมุนสวนทางกับการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองรอบละ 243 วัน
แต่ 1 วันของดาวศุกร์ยาวนานเท่ากับ 117 วันของโลก
เพราะตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตกยาวนาน 58.5 วันของโลก
ดาวศุกร์เคลื่อนรอบดวงอาทิตย์รอบละ 225 วัน 1 ปีของดาวศุกร์จึงยาวนาน 225
วันของโลก
ยานอวกาศสำรวจดาวศุกร์
ยานอวกาศที่สำรวจดาวศุกร์
มีด้วยกันหลายลำได้แก่
1.มาริเนอร์ 2 เมื่อ 14 ธันวาคม
พ.ศ. 2505
2.เวเนรา 4 เมื่อ 18 ตุลาคม พ.ศ.
2510
3.เวเนรา 7 เมื่อ 15 ธันวาคม พ.ศ.
2513
4.มาริเนอร์ 10 เมื่อ 5 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2517
5.เวเนรา 9 เมื่อ 23 ตุลาคม พ.ศ.
2518
6.เวเนรา 15 เมื่อ 10 ตุลาคม พ.ศ.
2526
7.ไพโอเนียร์-วีนัส 2 เมื่อ 9
ธันวาคม พ.ศ. 2521
8.แมกเจลแลน เมื่อ 10 สิงหาคม พ.ศ.
2533
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น